คลายข้อสงสัย ถ้าเรากินยาไปนาน ๆ จะทำให้ติดยาไหม?

คลายข้อสงสัย ถ้าเรากินยาไปนาน ๆ จะทำให้ติดยาไหม?
25/04/24 05:16 1,257 ผู้เข้าชม 3 ครั้งที่แชร์

ก่อนอื่นต้องถามก่อนว่า "ติดยา" คืออะไร? หลายคนกินยาจิตเวชแล้วทำให้อาการดีขึ้น หลับได้ สบายใจ ไม่เครียด แต่เมื่อไม่ได้ทานยาแล้วนอนหลับไม่ได้ เครียด กังวลมากขึ้น ก็เลย (พาล) สรุปว่า "ฉันกำลังติดยา" ทั้งทีจริงแล้ว ส่วนใหญ่จะเกิดจากการที่ตัวโรคมันยังอยู่ หรือหลายคนยังไม่ได้ปรับปัจจัยที่เกี่ยวกับการนอนหลับให้ถูกสุขนิสัย เช่น กังวลกับการนอนมากจนเกินไป ดูทีวีเล่นเน็ตก่อนเข้านอน คิดมากวิตกกับปัญหาในชีวิตประจำวัน ฯลฯ

คำว่า "ติดยา" ในความหมายที่แท้จริงทางการแพทย์ ก็คือ เมื่อใช้ยาไปนาน ๆ แล้วยาไม่ออกฤทธิ์ จนต้องเพิ่มปริมาณขึ้นไปเรื่อย ๆ หรือวันไหนไม่ได้กินยาแล้ว มี “อาการของการถอนพิษยา” (Withdrawal symptoms) เช่น เหงื่อออก กระวนกระวาย ใจสั่น ฯลฯ อันนี้น่าจะติดยาจริง ๆ แต่ถ้าวันไหนไม่ได้กินยาแล้วกลับมามีอาการนอนไม่หลับ มีความวิตก หรือเกิดความเครียดเหมือนกับตอนยังไม่ได้กิน อันนี้ไม่ใช่อาการติดยา แต่อาจเป็นอาการของตัวโรคที่มันยังอยู่ เพียงแต่ในตอนที่เรากินยานั้น ยากับตัวโรคอยู่ในสมดุลกันพอดี เมื่อวันไหนที่ไมได้กินยา โรคก็เลยเด่นขึ้นมา

ยาที่ช่วยเรื่องความเครียดและการนอนหลับแทบทุกตัว มีความปลอดภัยค่อนข้างสูง สามารถกินต่อเนื่องได้ในระยะยาว และโอกาสติดน้อยมาก ***ถ้าใช้ตามที่แพทย์สั่งครับ***

หมอมักพูดกับคนไข้ที่กลัวการติดยาบ่อย ๆ ว่า  "ถ้าการกินยาทางจิตเวชทำให้ชีวิตเราดีขึ้น นอนหลับได้ กลับไปทำงานได้ อยู่ในสังคมได้ และยานั้นไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายสะสมในร่างกาย รวมทั้งไม่ได้ทำให้ติดในระยะยาว การกินยาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้โรคสงบและช่วยป้องกันไม่ให้โรคกลับมากำเริบ ก็นับว่า ”เป็นการลงทุนที่คุ้มมากๆที่จะทำครับ”


By...คลินิกสุขภาพจิตนายแพทย์เจษฎา

สาระน่ารู้แนะนำ
สินค้าแนะนำ

สมัครรับข่าวสารเรื่องสุขภาพจาก Healthy Dee